วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

                                                                     บทที่ 1
                                                                    บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
โครงงานการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เรื่องวัฒนธรรมประเพณีของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จัดทำขึ้นเพื่อศึกษา และมีความรู้ในเรื่องวัฒนธรรมประเทศสมาชิกในกลุ่มประชาคมอาเซียน คณะผู้จัดทำได้เห็นความสำคัญในเรื่องศาสนาของประเทศลาวเพราะมีความเหมือนกับศาสนาและวัฒนธรรมของประเทศไทยมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่า ศาสนาของประเทศลาวนั้น รัฐบาลให้สิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนาโดยส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว ยังมีชนกลุ่มน้อยที่นับถือผีบรรพบุรุษในแถบภูเขาสูง และบางส่วนยังนับถือศาสนาคริสต์และอิสลามอยู่บ้าง ประชาชนลาวให้ความสำคัญในการนับถือศาสนามาก พระสงฆ์ลาวถือธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด มีการเผยแพร่พระธรรม และยังทำหน้าที่เป็นครู แพทย์แผนโบราณ โดยมีอุบาสกอุบาสิกาเป็นผู้ถวายปัจจัย พระสงฆ์ลาวจะได้รับการเชิดชูมาก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนับว่าเป็นประเทศที่มีความใกล้เคียงกับประเทศไทยมากทั้งในด้านสังคมและวัฒนธรรม นับว่าเป็นประเทศเพื่อนมากที่สามารถใช้ภาษาไทยสื่อสารด้วยความเข้าใจโดยไม่ต้องอาศัยล่าม
แหล่งที่มา…………. http://www.smeasean.com
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อศึกษาวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
2. เพื่อได้ความรู้จากการศึกษา มองเห็นความสำคัญของศาสนาประจำชาติของประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนเพื่อการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
3. เพื่อนำความรู้ มาพัฒนาและบูรณาการในด้านความการศึกษา และมาประยุกตร์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ขอบเขตการศึกษา
โครงงาน เรื่องการศึกษาวัฒนธรรมประเพณีของประเทศสาธารณรัฐประชาธิไตยประชาชนลาวเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชากิจกรรมศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยคณะผู้จัดทำได้ทำการศึกษาค้นคว้าจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในชั่วโมงของวิชากิจกรรมศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ณ ห้องปฏิบัติการคอมฯ 1 จากข้อมูลออนไลน์ต่าง ๆ และได้ทำการรวบรวมเนื้อหาที่สำคัญมาจัดเรียงเป็นรูปเล่ม ซึ่งมีเนื้อเรื่องที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มาก โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้าประมาณ 4 สัปดาห์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้รับความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียน
2. ได้รับประสบการณ์ในการทำงานเป็นหมู่คณะ และนำความรู้มาบูรณาการกับการศึกษาในปัจจุบันและเป็นแนวทางในการศึกษาในขั้นสูงต่อไป
                                                                       บทที่ 2
                                                            เอกสารที่เกี่ยวข้อง


         ในภาษาอังกฤษ คำว่าลาว ที่หมายถึงประเทศสะกดว่า “Laos” และ ลาวที่หมายถึงคนลาว และภาษาลาวใช้ “Lao” ในบางครั้งจะเห็นมีการใช้คำว่า “Laotian” แทนเนื่องจากป้องกันการสับสนกับเชื้อชาติลาว ที่สะกดว่า Ethnic Lao ประเทศลาว หรือชื่ออย่างเป็นทางการ คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People’s Democratic Republice)
ที่ตั้งและอาณาเขต
ประเทศลาวเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่บนใจกลางของคาบสมุทรอินโดจีนระหว่างละติจูดที่ 14 – 23 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 100 – 108 องศาตะวันออก มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 236,800 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นภาคพื้นดิน 230,800 ตารางกิโลเมตร ภาคพื้นน้ำ 6,000 km² โดยลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เนื่องด้วยตลอดแนวชายแดนของประเทศลาว ซึ่งมีความยาวรวม 5,083 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
 ทิศเหนือ ติดกับประเทศจีน (1 กิโลเมตร)
 ทิศตะวันออก ติดกับประเทศเวียดนาม (2,130 กิโลเมตร)
 ทิศใต้ ติดกับประเทศไทย (1,754 กิโลเมตร) และประเทศกัมพูชา (541 กิโลเมตร)
 ทิศตะวันตก ติดกับประเทศไทย (1,754 กิโลเมตร) และประเทศพม่า (235 กิโลเมตร)
ความยาวพื้นที่ประเทศลาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ยาวประมาณ 1,700 กว่ากิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 500 กิโลเมตร และที่แคบที่สุด 140 กิโลเมตร เนื้อที่ทั้งหมด 236,800 ตารางกิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศของลาวอาจแบบได้เป็น 3 เขต คือ
1. เขตภูเขาสูง เป็นพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,500 เมตรขึ้นไป พื้นที่นี้อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ
2. เขตที่ราบสูง คือพื้นที่ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร ปรากฏตั้งแต่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงเมืองพวนไปจนถึงชายแดนกัมพูชา เขตที่ราบสูงนี้มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ที่ราบสูงเมืองพวน (แขวงเชียงขวาง), ที่ราบสูงนากาย (แขวงคำม่วน) และที่ราบสูงบริเวณ (ภาคใต้)
3. เขตที่ราบลุ่ม เป็นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำต่างๆ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในเขตพื้นที่ทั้ง 3 เขต นับเป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศ แนวที่ราบลุ่มเหล่านี้เริ่มปรากฏตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำงึม เรียกว่า ที่ราบลุ่มเวียงจันทน์ ผ่านที่ราบลุ่มสะหวันนะเขด ซึ่งอยู่ตอนใต้เซบั้งไฟและเซบั้งเหียง และที่ราบจำปาสักทางภาคใต้ของลาว ซึ่งปรากฏตามแนวแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนจดชายแดนประเทศกัมพูชา
ทั้งนี้ เมื่อนำเอาพื้นที่ของเขตภูเขาสูงและเขตที่ราบสูงมารวมกันแล้ว จะมากถึง 3 ใน 4 ของพื้นที่ประเทศลาวทั้งหมด โดยจุดที่สูงที่สุดของประเทศลาวอยู่ที่ภูเบี้ย ในแขวงเชียงขวาง วัดความสูงได้ 2,817 เมตร (9,242 ฟุต)
ประเทศลาวมีแม่น้ำสายสำคัญอยู่หลายสาย โดยแม่น้ำซึ่งเป็นสายหัวใจหลักของประเทศคือแม่น้ำโขง ซึ่งไหลผ่านประเทศลาวเป็นระยะทาง 1,835 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำสำคัญทั้งในด้านเกษตรกรรม การประมง การผลิตพลังงานไฟฟ้า การคมนาคมจากลาวเหนือไปจนถึงลาวใต้ และการใช้เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศลาวกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ แม่น้ำสายสำคัญของลาวแห่งอื่นๆ ยังได้แก่
 แม่น้ำอู (พงสาลี – หลวงพระบาง) ยาว 448 กิโลเมตร
 แม่น้ำงึม (เชียงขวาง-เวียงจันทน์) ยาว 353 กิโลเมตร
 แม่น้ำเซบั้งเหียง (สะหวันนะเขด) ยาว 338 กิโลเมตร
 แม่น้ำทา (หลวงน้ำทา-บ่อแก้ว) ยาว523กิโลเมตร
 แม่น้ำเซกอง (สาละวัน-เซกอง-อัดตะบือ) ยาว 320 กิโลเมตร
 แม่น้ำเซบั้งไฟ (คำม่วน-สะหวันนะเขด) ยาว 239 กิโลเมตร
 แม่น้ำแบ่ง (อุดมไซ) ยาว 215 กิโลเมตร
 แม่น้ำเซโดน (สาละวัน-จำปาสัก) ยาว 192 กิโลเมตร
 แม่น้ำเซละนอง (สะหวันนะเขด) ยาว 115 กิโลเมตร
 แม่น้ำกะดิ่ง (บอลิคำไซ) ยาว 103 กิโลเมตร
 แม่น้ำคาน (หัวพัน-หลวงพระบาง) ยาว 90 กิโลเมตร
ลักษณะภูมิอากาศที่ลาว
สปป. ลาวอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน มีลมมรสุมแต่ไม่มีลมพายุ สำหรับเขตภูเขาภาคเหนือ และ เขตเทือกเขา อากาศมีลักษณะกึ่งร้อนกึ่งหนาว อุณหภูมิสะสมเฉลี่ยประจำปีสูงถึง 15-30 องศาเซลเซียส และความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนมีประมาณ 10 องศาเซลเซียส จำนวนชั่วโมงที่มีแสงแดดต่อปีประมาณ 2,300 – 2,400 ชั่วโมง (ประมาณ 6.3 – 6.5 ชั่วโมงต่อวัน) ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมีประมาณร้อยละ 70 – 85 ปริมาณน้ำฝนในฤดูฝน (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงตุลาคม) มีร้อยละ 75 – 90 ส่วนในฤดูแล้ง (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเมษายน) ปริมาณน้ำฝนมีเพียงร้อยละ 10 – 25 และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีของแต่เขตก็แตกต่างกันอย่างมากมาย เช่น เขตเทือกเขาบริเวณทางใต้ได้รับน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 300 เซนติเมตร ขณะที่บริเวณแขวงเซียงขวาง
แขวงหลวงพะบาง แขวงไซยะบุลี ได้รับเพียงแค่ 100 – 150 เซนติเมตร ส่วนแขวงเวียงจันและสะหวันนะเขดในช่วง 150 – 200 เซนติเมตร เช่นเดียวกับ
แขวงพงสาลี แขวงหลวงน้ำทา และแขวงบ่อแก้ว
ประวัติศาสตร์ยุคแรกๆ ของลาว เชื่อว่าอยู่ภายใต้การครอบครองของอาณาจักรน่านเจ้ามีตำนานโดยขุนบรม และขุนลอ มีลูกสืบหลานต่อๆ กันมา จนถึงรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มผู้รวบรวมอาณาจักรล้านช้างได้เป็นผลสำเร็จในช่วงสมัยพุทธศตวรรษที่ 19 และมีกษัตริย์ปกครองสืบทอดต่อกันมาหลายพระองค์ ที่สำคัญ เช่น
 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระองค์มีความสัมพันธไมตรีที่แนบแน่นกับกษัตริย์ไทย โดยเฉพาะในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
 พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช รัชสมัยของพระองค์นับเป็นยุคทองของราชอาณาจักรล้านช้าง
ภายหลังเมื่อพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชเสด็จสวรรคตแล้ว เชื้อพระวงศ์ลาวต่างก็แก่งแย่งราชสมบัติกัน จนอาณาจักรล้านช้างแตกแยกเป็น 3 ส่วนคือ อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ และอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ ต่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน และเพื่อชิงความเป็นใหญ่ต่างก็ขอสวามิภักดิ์ต่ออาณาจักรเพื่อนบ้าน เช่น ไทย พม่า เพื่อขอกำลังมาสยบอาณาจักรลาวด้วยกันในลักษณะนี้ ในที่สุดอาณาจักรลาวทั้ง 3 แห่งนี้จะตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรสยามในปี พ.ศ. 2321
สยามได้ปกครองดินแดนลาวทั้งสามส่วนในฐานะประเทศราชรวม 114 ปี ในระยะเวลาดังกล่าวอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ได้ล่มสลายลงในปี พ.ศ. 2371 เนื่องจากในปี พ.ศ. 2369 พระเจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ได้พยายามทำสงครามเพื่อตั้งตนเป็นอิสระจากสยาม เนื่องจากไม่อาจทนต่อการกดขี่ของฝ่ายไทยได้ ทว่าหลังการปราบปรามของกองทัพไทยอย่างหนัก พระองค์เห็นว่าจะทำการไม่สำเร็จจึงตัดสินพระทัยหลบหนีไปพึ่งจักรวรรดิเวียดนามจนถึง พ.ศ. 2371 พระองค์จึงได้กลับมายังกรุงเวียงจันทน์พร้อมกับขบวนราชทูตเวียดนามพามาเพื่อขอสวามิภักดิ์สยามอีกครั้ง แต่พอสบโอกาสพระองค์จึงนำทหารของตนฆ่าทหารไทยที่รักษาเมืองจนเกือบหมดและยึดกรุงเวียงจันทน์คืน กองทัพสยามรวบรวมกำลังพลและยกทัพมาปราบปรามเจ้าอนุวงศ์อีกครั้งจนราบคาบ จนพระเจ้าอนุวงศ์ต้องหลบหนีไปยังเวียดนามและในคราวนี้เองที่พระองค์ทรงถูกเจ้าเมืองพวนจับกุมตัวและส่งลงมากรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธเจ้าอนุวงศ์มากจึงทรงให้คุมขังเจ้าอนุวงศ์ประจานกลางพระนครจนสิ้นพระชนม์ ส่วนกรุงเวียงจันทน์ก็ทรงมีพระบรมราชโองการให้เผาทำลายจนไม่เหลือสภาพความเป็นเมือง และตั้งศูนย์กลางการปกครองฝ่ายไทยเพื่อดูแลอาณาเขตของอาณาจักรเวียงจันทน์ที่เมืองหนองคายแทน
พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชหน้าพระธาตุหลวง นครหลวงเวียงจันทน์]สมัยอาณานิคม การประกาศเอกราช และสงครามกลางเมือง
ในปี พ.ศ. 2436 สยามได้เกิดข้อขัดแย้งกับฝรั่งเศสในเรื่องอำนาจเหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงจนเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 จากการใช้เล่ห์เหลี่ยมของโอกุสต์ ปาวีกงสุลฝรั่งเศส โดยการใช้เรือรบมาปิดอ่าวไทยเพื่อบังคับให้ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รวมทั้งดินแดนอื่น ๆ ดินแดนลาวเกือบทั้งหมดก็เปลี่ยนไปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของประเทศฝรั่งเศสในปีนั้นและถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศส ต่อมาภายหลังดินแดนลาวส่วนอื่นที่อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงก็ตกเป็นของฝรั่งเศสอีกในปี พ.ศ. 2450
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้รุกเข้ามาในลาวและดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศสอื่นๆ เมื่อญี่ปุ่นใกล้แพ้สงครามขบวนการลาวอิสระซึ่งเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อกู้เอกราชลาวในเวลานั้นประกาศเอกราชให้ประเทศลาวเป็นประเทศ ราชอาณาจักรลาว หลังญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสก็กลับเข้ามามีอำนาจในอินโดจีนอีกครั้งหนึ่ง แต่เนื่องจากการที่เวียดมินห์ปลดปล่อยเวียดนามได้ จึงเป็นการสั่นคลอนอำนาจฝรั่งเศสจนยอมให้ลาวประกาศเอกราชบางส่วนในปี พ.ศ. 2492 และได้เอกราชสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2496 ภายหลังฝรั่งเศสรบแพ้เวียดนามที่เดียนเบียนฟู ผู้ที่มีบทบาทในการประกาศเอกราชคือ เจ้าสุวรรณภูมา เจ้าเพชรราช และ เจ้าสุภานุวงศ์โดยมีเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ามหาชีวิต (พระมหากษัตริย์) จากอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางเดิม และได้รวมทั้ง 3 อาณาจักรคือ ล้านช้างหลวงพระบาง ล้านช้างเวียงจันทน์ และ ล้านช้างจำปาศักดิ์ เข้าด้วยกันเป็นราชอาณาจักรลาว
พ.ศ. 2502 เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์เสด็จสวรรคต เจ้าสว่างวัฒนาจึงขึ้นครองราชย์เป็นเจ้ามหาชีวิตแทน เหตุการณ์ในลาวยุ่งยากมาก เจ้าสุภานุวงศ์ 1 ในคณะลาวอิสระประกาศตนว่าเป็นพวกฝ่ายซ้ายนิยมคอมมิวนิสต์และเป็นหัวหน้าขบวนการปะเทดลาว ได้ออกไปเคลื่อนไหวทางการเมืองในป่า เนื่องจากถูกฝ่ายขวาในลาวคุกคามอย่างหนัก ถึงปี พ.ศ. 2504 ร้อยเอกกองแลทำการรัฐประหารรัฐบาลเจ้าสุวรรณภูมา แต่ถูกกองทัพฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายรุมจนพ่ายแพ้ กองแลต้องลี้ภัยไปสหรัฐจนถึงปัจจุบัน
เหตุการณ์ทางการเมืองในระยะเวลาไม่นานหลังจากนั้นบังคับให้ลาวต้องกลายเป็นสมรภูมิลับของสงครามเวียดนาม และเป็นปัจจัยก่อให้เกิดการรัฐประหารและสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อ ภายใต้การแทรกแซงของชาติต่างๆ ทั้งฝ่ายคอมมิวนิสต์และฝ่ายโลกเสรี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2518 พรรคประชาชนปฏิวัติลาว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตและเวียดนามเหนือ โดยการนำของเจ้าสุภานุวงศ์ ก็ยึดอำนาจรัฐจากรัฐบาลประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาสำเร็จ เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาทรงยินยอมสละราชสมบัติ พรรคประชาชนปฏิวัติลาวจึงประกาศสถาปนาประเทศลาวเป็น “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 ธันวาคมพ.ศ. 2518 โดยยังคงแต่ตั้งให้อดีตเจ้ามหาชีวิตเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลระบอบใหม่ แต่ภายหลังพรรคประชาชนปฏิวัติลาวก็ได้กุมตัวอดีตเจ้ามหาชีวิตและมเหสีไปคุมขังในค่ายกักกันจนสิ้นพระชนม์ เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองในเวลาต่อมา]สมัยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
สภาพการปกครอง และการบริหารด้านเศรษฐกิจของลาวเริ่มผ่อนคลายมากขึ้นในระยะหลังของทศวรรษ 2555 ต่อมาเมื่อเจ้าสุภานุวงศ์สละตำแหน่งจากประธาน ผู้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อจากเจ้าสุภานุวงศ์คือ ท่านไกสอน พมวิหาน และเมื่อท่านไกสอนถึงแก่กรรมกระทันหัน ท่าน หนูฮัก พูมสะหวัน ก็ได้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อมา ยุคนี้ลาวกับไทยเปิดสะพานมิตรภาพ ไทย – ลาว ในปี พ.ศ. 2538 ต่อมาท่านหนูฮักสละตำแหน่ง ท่านคำไต สีพันดอนรับดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อ จนถึงปี พ.ศ. 2549 ท่านคำไตลงจากตำแหน่ง ท่านจูมมะลี ไซยะสอน จึงเป็นผู้ที่รับตำแหน่งประธานประเทศลาว
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดยมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ ซึ่งพรรคนี้เริ่มมีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ประธานประเทศ (ประธานาธิบดี) ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวคนปัจจุบัน ซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี คือ พลโทจูมมะลี ไซยะสอน (ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาวอีกตำแหน่งหนึ่ง) ส่วนนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือนายทองสิง ทำมะวง
สถาบันการเมืองที่สำคัญ
1. พรรคประชาชนปฏิวัติลาว
2. สภารัฐมนตรี (สภาแห่งชาติแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี)
3. สภาแห่งชาติลาว (ประชาชนเลือกสมาชิกสภาแห่งชาติจากผู้ที่พรรคฯ เสนอ)
4. แนวลาวสร้างชาติ
5. องค์กรจัดตั้ง เช่น สหพันธ์วัยหนุ่มลาว (สหพันธ์เยาวชน) สหพันธ์แม่หญิงลาว (สมาคมสตรี) กรรมบาลลาว(สหพันธ์กรรมกร) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยพรรคประชาชนปฏิวัติการจัดตั้งและการบริหาร
 หลายหมู่บ้านรวมกันเป็น เมือง (ก่อนหน้านี้จัดให้หลายหมู่บ้านรวมกันเป็น ตาแสง มีตาแสงเป็นผู้ปกครอง หลายตาแสงรวมกันจึงเรียกว่า เมือง)
 หลายเมืองรวมกันเป็น แขวง
 “คณะกรรมการปกครองหมู่บ้าน” มี นายบ้าน เป็นหัวหน้า เป็นผู้บริหารของหมู่บ้าน
 “คณะกรรมการปกครองเมือง” มี เจ้าเมือง เป็นหัวหน้า เป็นผู้บริหารเมือง
 “คณะกรรมการปกครองแขวง” มี เจ้าแขวง เป็นหัวหน้า เป็นผู้บริหารแขวง
 “คณะกรรมการปกครองนครหลวง” มี เจ้าครองนครหลวง เป็นหัวหน้า เป็นผู้บริหารนครหลวง
http://th.wikipedia.org

วัฒนธรรมประเพณีลาว


งานออกพรรษาที่เชียงคาน มหัศจรรย์สองฝั่งโขง ฟื้นประเพณี “ผาสาดผึ้งลอยน้ำ” เผยการ
ลอยผาสาดลงน้ำโขงเป็นส่วนหนึ่งในการพิธีสะเดาะเคราะห์ท้องถิ่นแบบดั้งเดิม ลอยความ
อัปมงคลออกไปจากชีวิต
เทศกาลออกพรรษา ได้รวบรวมแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ที่ผสมผสานระหว่างทรัพยากรธรรมชาติ
วิถีชีวิต
ในพื้นที่ริมสายน้ำโขง เป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมประเพณีที่น่าสนใจ จึงกำหนดจัดกิจกรรมเพื่อ
ส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับตลาดในประเทศ ภายใต้ชื่อ “มหัศจรรย์ฝั่งโขง” ขึ้นเพื่อเผยแพร่ประชา
สัมพันธ์ การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี
อันจะเป็นการช่วยกระตุ้นสร้างกระแสให้เกิดการรับรู้ความเป็นเอกลักษณ์ของ พื้นที่
โดยมุ่งหวังให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจ และเลือกเดินทางท่องเที่ยวในกิจกรรมต่างๆ ตามพื้นที่ดังกล่าว
ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีพรมแดนติดแม่น้ำโขง ทั้งเขตภาคเหนือ เชื่อมโยงสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อันจะช่วยให้เกิดการเดินทางเชื่อมโยงในกลุ่มจังหวัด และระหว่างภูมิภาค เหมาะสมในการส่งเสริม
ให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างภูมิภาค ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง
จังหวัดเลยถือเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงาน
เลย และเทศบาลตำบลเชียงคานได้ส่งประเพณีวัฒนธรรมของชาวอำเภอเชียงคานเข้าร่วม บรรจุไว้ใน
โปรแกรมท่องเที่ยวครั้งนี้ด้วย ภายใต้ชื่องาน ว่า “ลอยผาสาด ดารดาษนทีโขง เชื่อมโยงวัฒนธรรมไทดำ
น่าขำผีขนน้ำ” ระหว่างวันที่ 1-15 ต.ค. ที่ อ.เชียงคาน
นายกมล คงปิ่น นายกเทศบาลตำบลเชียงคาน กล่าวว่า ปีนี้งานออกพรรษาที่เชียงคาน จัดขึ้นเป็น
พิเศษ นอกจากจะมีแห่ปราสาทผึ้ง ไหลเรือไฟ จะมีพิธี “ผาสาดลอยน้ำ” ถือเป็นไฮไลต์ของงาน
โดยประเพณีดังกล่าวถูกหลงลืม เลิกเล่นไปนานแล้ว ทั้งที่เป็นส่วนหนึ่งของพิธีสะเดาะเคราะห์
แบบดั้งเดิมของท้องถิ่น โดยเจ้าของผาสาด ลักษณะคล้ายกระทง นำความโชคร้ายสิ่งที่ไม่ดีปล่อยไหล
ไปตามแม่น้ำโขง โดยจะจัดขึ้นในช่วงค่ำคืนของวันที่ 14 ตุลาคม 2551 ทางเทศบาลได้เตรียมผาสาด
จำนวนมากไว้สำหรับให้นักท่องเที่ยวลงไปลอยเพื่อความ เป็นศิริมงคลแก่ชีวิตด้วย
นอกจากนี้ยังมีการรื้อฟื้นประเพณีเรือไฟบกทำเป็นเรือเล็ก ซึ่งใช้ไม้ไผ่และใช้เทียนปักบนเรือ
จุดยามค่ำคืนตามหน้าบ้านหรือสถานที่ต่างๆ เพื่อให้เกิดแสงสว่างไสวช่วงงานออกพรรษา
เมษายน ของทุกปี เป็นงานประเพณีสงกรานต์ที่มีความพิเศษแตกต่างจากท้องถิ่นอื่น เนื่องจากจะ
มีประชาชนจากประเทศลาวเข้ามาร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ได้แก่การประกวดเทพีสงกรานต์ และ
ร่วมเล่นน้ำสงกรานต์กับชาวไทยงานประเพณีบุญบั้งไฟล้าน จัดขึ้นที่บริเวณวัดเอราวัณพัฒนารามกิ่ง
อำเภอเอราวัณ ในช่วงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6http://www.chiangkhan.com
งานประเพณีต่าง ๆ ของชาวลาวนอกจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่และภาษาที่ไทย – ลาวมีความคล้ายคลึงกันแล้ว
งานประเพณีต่าง ๆ ตลอดปีของลาวก็ดูไม่ต่างจากชาวไทยในภาคอีสานนัก เกือบทั้งหมดเป็นงานประเพณี
ที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนาเรียกกันว่า “ฮีตสิบสอง”
• ฮีต หมายถึง จารีต
• สิบสอง หมายถึง เดือนทั้ง 12 เดือนในรอบหนึ่งปี
ชาวหลวงพระบางมีงานประเพณีครบทั้งสิบสองเดือนในหนึ่งปี
• เดือนอ้าย : บุญเข้ากรรม
ช่วงที่จัด : เดือนธันวาคม ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูหนาว
ลักษณะงาน : จุดประสงค์ของงานนี้เพื่อให้พระภิกษุ เข้าพิธีกรรมปลงอาบัติด้วยการอยู่ในเขตที่จำกัด เพื่อชำระจิตใจให้สะอาด
• เดือนยี่ : บุญคูณลาน
ช่วงที่จัด : หลังฤดูเก็บเกี่ยว
ลักษณะงาน : ก่อนที่จะนำข้าวที่นวดแล้วไปเก็บในยุ้งข้าว จะมีการทำบุญขวัญข้าว มีการนิมนต์พระภิกษุมาสวดเป็นสิริมงคล และเป็นนิมิตรหมายที่ดีให้ปีต่อๆไปทำนาเกิดผลดียิ่งๆขึ้น
• เดือนสาม : บุญข้าวจี่
ช่วงที่จัด : หลังงานมาฆะบูชา
ลักษณะงาน : ชาวนาจะนำข้าวจี่หรือข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้ว ปั้นเป็นก้อนเท่าไข่เป็ดทาเกลือ นำไปเสียบไม้ย่าง จากนั้นตีไข่ทาให้ทั่วแล้วย่างจนไข่สุกและถอดไม่เสียบออกนำน้ำตาลอ้อยยัดลงตรงกลางเป็นไส้ นำถวายพระสงฆ์ในช่วงที่หมดฤดูทำนาแล้ว เพื่อเป็นการทำบุญ
• เดือนสี่ : บุญพระเวส
ช่วงที่จัด : เดือนสี่ข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้
ลักษณะงาน : งานบุญพระเวสหรืองานบุญมหาชาติ เช่นเดียวกับงานฟังเทศพระเวสสันดรชาดก อันเป็นชาดกที่ยิ่งใหญ่ ชาวบ้านจะช่วยกันตกแต่งประดับประดาโรงธรรมด้วยดอกไม้ ใช้ดอกบัวประดับธรรมมาสน์ มีการจัดรูปขบวนแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีออกจากป่าเข้าในเมืองไปสิ้นสุดที่พระอุโบสถ มีการเทศน์มหาเวสสันดรตลอดวัน
• เดือนห้า : บุญสงกรานต์
ช่วงที่จัด : ตรุษสงกรานต์
ลักษณะงาน : นับเป็นงานที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมากที่สุดและยังถือเป็นวันปีใหม่ของลาวเช่นเดียวกับของไทย
วันแรกของงานเรียกว่า “วันสงขารล่อง” ชาวหลวงพระบางจะไปจับจ่ายซื้อของและธงรูปพระพุทธเจ้า เพื่อไปปักกองเจดีย์ทรายริมแม่น้ำโขง ตกเย็นมีการลอยกระทง ภายในกระทงบรรจุกล้วย ขิง ข้าวดำ ข้าวแดง ดอกไม้ ใบพลู ธูป เทียน ดอกดาวเรือง ผมและเล็บของผู้ลอย อธิษฐานให้ทุกข์โศกโรคภัยลอยไปกับกระทง
วันที่สอง เรียกว่า “วันเนา” ช่วงเช้ามีการแห่รูปหุ่นเชิดปู่เยอย่าเยอและสิงห์แก้ว สิงห์คำ ช่วงบ่ายขบวนแห่ซึ่งนำโดยปู่เยอย่าเยอ ผู้เฒ่าผู้แก่ หัวหน้าหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้าน ขบวนพระสงฆ์ นางสงกรานต์ (นางวอ) ขี่สัตว์พาหนะบนรถแห่ ปู่เยอย่าเยอก็จะฟ้อนรำ อวยพระให้ลูกหลาน
วันที่สาม เรียกว่า “วันสังขารขึ้น” ชาวหลวงพระบางทำข้าวเหนียวนึ่งและนมลูกกวาด พากันเดินขึ้นภูษี ภูเขาสูงกลางเมืองหลวงพระบาง ระหว่างเดินจะวางข้าวเหนียวและขนมไว้ตามหัวเสาบันไดจนถึงองค์พระธาตุ วิธีการนี้เรียกว่าเป็นการตักบาตรภูษี มีการโยนข้าวเหนียวลงป่าข้างองค์พระธาตุเป็นการให้ทาน ช่วงบ่ายมีขบวนแห่นางสังขารและอัญเชิญศีรษะท้าวกบิลพรหมจากวัดเชียงทองไปยังวัดวิชุน มีการสรงน้ำพระที่วัดวิชุน
วันที่สี่ นับเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งมีการแห่พระบาง พระพุทธรูปคู่เมืองหลวงพระบาง ปีหนึ่งจะอัญเชิญออกมาให้ชาวเมืองสรงน้ำ พระบางนี้จะประดิษฐานอยู่ที่วัดใหม่เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน จากนั้นจะอัญเชิญกลับหอพิพิธภัณฑ์เหมือนเดิม
• เดือนหก : บุญบั้งไฟ
ช่วงที่จัด : เดือนหกก่อนฤดูกาลทำนามาถึง ย่างเข้าฤดูฝน
ลักษณะงาน : คล้ายกับงานบุญบั้งไฟของภาคอีสาน จุดประสงค์เพื่อบูชาหลักเมือง และขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ปีใดที่ไม่มีการทำบุญบั้งไฟเชื่อว่าปีนั้นจะเกิดเภทภัยต่างๆ และเป็นสัญญาณว่าฤดูการทำนาจะเริ่มต้นแล้ว นับเป็นงานที่กระทำกันมาแต่โบราณ
• เดือนเจ็ด : บุญซำฮะ
ช่วงที่จัด : เดือนเจ็ด
ลักษณะงาน : งานเล็กๆ แต่สำคัญ จุดประสงค์เพื่อเป็นการชำระล้างเสนียดจัญไร ที่จะเกิดกับบ้านเมือง เพื่อให้บ้านเมืองมีความสงบสุข
• เดือนแปด : บุญเข้าพรรษา
ช่วงที่จัด : วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
ลักษณะงาน : เป็นการเริ่มต้นฤดูเข้าพรรษาเหมือนชาวไทย พระสงฆ์จะหยุดออกบิณฑบาตรเป็นเวลา 3 เดือนตามพุทธบัญญัติ นับแต่วันเข้าพรรษาเป็นต้นไปในวันแรกนี้จะมีการทำบุญกันที่วัดต่างๆ
• เดือนเก้า : บุญห่อข้าวประดับดิน การส่วงเฮือ และการล่องเฮือไฟ
ช่วงที่จัด : เดือนเก้า
ลักษณะงาน : บุญห่อข้าวประดับดิน เป็นการทำพิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลให้กับวิญาณบรรพบุรุษ และวิญญาณไร้ญาติให้ออกมารับส่วนบุญ ชาวบ้านจะนำอาหารหวานคาว บุหรี่ หมาก พลู ใส่ลงในกรวยใบตองไปวางตามพื้นดินหรือใต้ต้นไม้บริเวณรั้วบ้าน รั้ววัด
การส่วงเฮือ
ส่วง หมายถึง แข่งขัน
เฮือ หมายถึง เรือ
เป็นงานบุญแข่งเรือประจำเดือนเก้า ทุกคุ้ม (หมู่บ้าน) จะนำเรือเข้าแข่งขัน ในอดีตการแข่งเรือถือเป็นการฝึกซ้อมฝีพายเพื่อต่อสู้ข้าศึกที่มาทางน้ำ ปัจจุบันนับเป็นงานบุญที่สนุกสนานงานหนึ่งของชาวหลวงพระบาง
• เดือนสิบ : บุญข้าวสาก
ช่วงที่จัด : วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10
ลักษณะงาน : จุดประสงค์ของการจัดงานเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้คนตายหรือเปรต ห่างจากงานวันบุญข้าวประดับดิน 15 วัน อันเป็นเวลาที่เปรตต้องกับไปยังที่อยู่ของตน
• เดือนสิบเอ็ด : บุญออกพรรษา
ช่วงที่จัด : วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
ลักษณะงาน : เป็นงานตักบาตรเทโว มีการจัดอาหารไปถวายพระภิกษุสามเณร มีการกวนข้าวทิพย์ (กระยาสารท) ถวาย มีการถวายผ้าจำนำพรรษาและปราสาทผึ้ง โดยการนำไม้ไผ่มาสานเป็นรูปปราสาท ตกแต่งสวยงาม จัดขบวนแห่ปราสาทผึ้งไปถวายพระในตอนค่ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ
• เดือนสิบสอง : บุญกฐิน
ช่วงที่จัด : แรม 1 ค่ำ เดือน 11 – เดือนเพ็ญ เดือน 12
ลักษณะงาน : เป็นการถวายผ้าแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษามาตลอดช่วงเข้าพรรษา นับเป็นงานบุญที่กระทำกันมาแต่โบราณ
http://www.oceansmile.com
วิถีชีวิต
ชาวลาวเป็นกลุ่มชนที่รักความอิสระ กล้าหาญ ซื่อสัตย์ รักความสงบ มีเสรีภาพในการเลือกคู่ครองมีประเพณีแอ่วสาว เป็นการที่หนุ่มสาว มีโอกาสได้ทำความรู้จักกัน
วัฒนธรรมประเพณีทางด้านภาษา
ภาษาประจำชาติคือ ภาษาลาวมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาไทยทางภาคอีสานของไทย นอกจากนี้คนลาวบางส่วนยังสามารถใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศลได้ดี สำหรับประชาชนชาวลาวทางตอนเหนือของประเทศสำเนียงการพูด และความหมายของคำบางคำคล้ายกับภาษาพื้นเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และเลย ทางตอนเหนือของประเทศไทย
วัฒนธรรมและประเพณีการแต่งกาย
ประชากรส่วนใหญ่นิยมนุ่งผ้าซิ้น ซึ่งเป็นผ้าฝ้ายและผ้าไหม การทำลวดลายบนผืนผ้า ก็ใช้วิธีการทอสลับเส้นด้ายลวดลายต่าง ๆ ห่มสไบเฉียง สวมเสื้อแขนกระบอกและนิยมเกล้าผม
วัฒนธรรมและประเพณีด้านอาหาร

                                                                            บทที่ 3

                                                              ขั้นตอนการดำเนินงาน

    
 ขั้นตอนการดำเนินงาน
โครงงานฉบับนี้ผู้จัดทำได้ดำเนินงานตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของกำเนิดอาเซียน
2. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเลือกหัวข้อในการทำโครงงานและนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
3. ปรึกษาและรับคำแนะนำในการเขียนโครงงานจากอาจารย์ที่ปรึกษา
4. นำเสนอเค้าโครงเรื่อง สมาชิกในกลุ่มรวบรวมข้อมูลในการทำโครงงาน
5. ศึกษารูปแบบการทำโครงงาน พร้อมการดำเนินการตามขั้นตอนของการทำโครงงาน
6. ดำเนินงานการจัดพิมพ์ตามรูปแบบของโครงงานเพื่อจัดทำเป็นรูปแบบโครงงาน
7. การนำเสนอร่างรูปเล่มโครงงาน
8. จัดทำเล่มโครงงานฉบับสมบูรณ์
ตารางการปฏิบัติกิจกรรม ()
สัปดาห์ กิจกรรมที่ปฏิบัติ สถานที่ปฏิบัติกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ
1
11 – 15 มิย. 55 แบ่งกลุ่มในการเลือกหัวข้อในการเพื่อเสนอต่ออาจารย์ ห้องปฏิบัติการคอมฯ 1 สมาชิกในกลุ่มและอาจารย์ที่ปรึกษา
2
18 – 22 มิย. 55 ค้นคว้าหาข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ตามหัวข้อที่กำหนดไว้ เริ่มพิมพ์งานในบทที่ 1 ห้องปฏิบัติการคอมฯ 1 สมาชิกในกลุ่มและอาจารย์ที่ปรึกษา
3
25 – 29 มิย. 55 จัดเตรียมหาข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวกับโครงงาน จัดพิมพ์บทที่ 2 บทที่ 3 และปรึกษาภายในกลุ่มเพื่อเตรียมผลการศึกษา ห้องปฏิบัติการคอมฯ 1 สมาชิกในกลุ่มและอาจารย์ที่ปรึกษา
4
2 -6 ก.ค. 55 สรุปผล อภิปรายและเสนอแนะข้อมูล พร้อมจัดพิมพ์ ห้องปฏิบัติการคอมฯ 1 สมาชิกในกลุ่มและอาจารย์ที่ปรึกษา
5
9 -13 ก.ค. 55 ศึกษาข้อมูลเพื่อจัดพิมพ์บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ พร้อมจัดทำสารบัญ การพิมพ์อ้างอิง ภาคผนวก เพื่อจัดทำเป็นรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ ห้องปฏิบัติการคอมฯ 1 สมาชิกในกลุ่มและอาจารย์ที่ปรึกษา
วิธีดำเนินงานตามโครงงาน
ในการจัดทำโครงงานฉบับนี้ คณะผู้จัดทำได้ดำเนินงานโดยการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกำเนิดอาเซียน ประเทศสมาชิกในกลุมอาเซียน ได้ศึกษาข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆ และได้ข้อมูลการค้นคว้าในรายวิชากิจกรรมศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เพื่อเลือกหัวข้อที่คณะผู้จัดทำสนใจ ในการจัดทำโครงงาน โดยมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาดังนี้
1. เครื่องคอมพิวเตอร์จากการสืบค้นในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
2. สมุดจดบันทึก พร้อมปากกา
3. แผ่นซีดีเพื่อการบันทึกขั้นตอนต่าง ๆ ในการนำเสนอโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษา
4. Flash Drive เพื่อการบันทึกข้อมูล
วิธีการศึกษา
1. ศึกษาจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ห้องสมุด เพื่อหาข้อมูลเรื่อง………
2. ศึกษาจากเอกสารอ้างอิง
3. ประเด็นการศึกษา
- ได้รู้และมีความเข้าใจเรื่องการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
- ได้เห็นถึงความสำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
- มีความรู้และความเข้าใจในเรื่อง……………………………….
- (ถ้าทำเกี่ยวกับเรื่องภาษา ต้องได้รู้ถึงการใช้ภาษา…..)

                                                                       บทที่ 4 

                                                                 ผลการศึกษา


ผลการศึกษา
จากการที่ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนเพื่อทำโครงงาน และหลังจากการที่ได้ศึกษาข้อมูลแล้วผู้จัดทำได้รับความรู้ดังนี้
1. ได้รับความรู้ในเรื่องการจัดตั้งอาเซียนและข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับอาเซียน
2. ได้รับความรู้ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน
3. ได้รู้จักสัญญาลักษณ์ของอาเซียนและความหมาย
4. ได้ตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอนาตคที่จะถึง
5. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง (ที่นักศึกษาได้ทำการค้นคว้า)
ธงและสัญลักษณ์ อาเซียน
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Association of Southeast Asian Nations)
คำขวัญ
“One Vision, One Identity, One Community”
(หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)
สัญลักษณ์อาเซียน
“ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้”
หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีที่สำคัญของธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ตั้งอยู่ที่่ กรุงจากาตาร์
เลขาธิการ : ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ (เริ่มดำรงตำเเหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2551)
ปฏิญญากรุงเทพ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
กฎบัตรอาเซียน 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ภาษาราชการ ภาษาอังกฤษ
“One Vision,One Identity, One Community”
หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม
พิธีลงนามในปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) หรือปฏิญญากรุงเทพฯ
ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
นำรูปในเรื่องที่นักศึกษาทำการค้นคว้ามาประมาณ 2 ภาพ

                                                                      บทที่ 5

                                                 สรุปผล อภิปรายและเสนอแนะ

สรุปผลการศึกษา
ในการจัดทำโครงงานการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยน ผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และข่าวสารจากสื่อโทรทัศน์ ในการศึกษาครั้งนี้ทำให้ตระหนักได้ว่าในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซี่ยน ต้องมีความพร้อมหลายด้านทั้งการศึกษาด้านวิชาการ การศึกษาภาษาเพื่อนบ้าน ศึกษาเรื่องวัฒนธรรมประเพณีของประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนซึ่งผู้จัดทำได้มีความรู้เป็นอย่างมาก และคาดว่าจะต้องมีการศึกษาต่อเพื่อได้รับความรู้เพิ่มเติมและเป็นการเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วย
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ได้รับความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับอาเซียน
2. ได้รับความรู้ความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในด้านต่าง ๆ
3. ได้รับความรู้และทักษะในด้านภาษาของประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน
4. ได้ตระหนักในการทำงานเป็นหมู่คณะอย่างมีจริยธรรม
ข้อเสนอแนะ
1. ควรจะมีสื่อวีดีทัศน์ประเทศเพื่อนบ้านของสมาชิกอาเซียน
2. ควรมีการจัดนิทรรศการเรื่องประชาคมอาเซียน
3. ควรจะมีการบูรณาการอย่างหลากหลายวิชาตามหัวข้อเพื่อให้ได้ข้อมูลที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอน